หน่วยงาน

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การสรุปวิจัย

                          การสรุปวิจัย


 เรื่อง การปรุงอาหาร โดย คุณประภัสร โคตะขุน


             สำหรับ เด็กอายุ 5 – 6 ขวบ


มโนทัศน์การเรียนรู้ การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามชื่ออาหารนั้นให้ได้รสที่ต้องการ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ ปรุงอาหารเป็น รู้จักรสอาหาร เช่น เค็ม เปรี้ยว หวาน สนุกกับการทำงานร่วมกับเพื่อน

สิ่งที่เด็กต้องปฏิบัติ ช่วยกันวางแผนปรุงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งที่กลุ่มเลือก และช่วยกันปรุงอาหารนั้น

อุปกรณ์ที่เตรียม เครื่องปรุง จาน ชาม ช้อนสำหรับใส่อาหารเครื่องครัวเท่าที่ต้องการขั้นดำเนินการ


1. ครูให้เด็กช่วยกันเลือกอาหารที่ตนเองชอบและต้องการปรุง (ครูอาจมีตัวเลือก 2 – 3 อย่าง ที่เป็นอาหารกลุ่มเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการเตรียมเครื่องปรุง เช่น ส้มตำ สลัดผัก แซนวิช เป็นต้น)

2. ให้เด็กแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำ

3. เสร็จแล้วให้วางแผนร่วมมือกันพร้อมปรุงอาหารที่เลือก

4. แบ่งปันกลุ่มอื่นรับประทานอาหารร่วมกัน


ข้อสรุปบทเรียน

1. อภิปรายกลุ่มใหญ่เรื่องปัญหาการปรุงอาหารและการช่วยเหลือกัน

2. สรุปผลการปรุงอาหารว่าใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ใด

3. อาหารที่ปรุงมีรสอะไรบ้าง

การประเมินภาพการเรียนรู้


                   Ÿ สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างกิจกรรมอาหาร เป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เด็กชอบมากเนื่องจากคุ้นเคยอยู่กับบ้านเป็นกิจวัตรที่เด็กทุกคนสนใจและต้องการทำ ในการจัดกิจกรรมอาหารนี้ ควรใช้กลุ่มเล็ก เพื่อความปลอดภัย และสามารถสนทนาในรายละเอียดเวลารับประทานร่วมกัน เด็กจะเกิดมโนทัศน์ เรื่องอาหาร เช่น ประโยชน์ของอาหารต่อร่างกาย และเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม นอกจากนี้การรับประทานอาหารด้วยกันยังเป็นการฝึกให้เด็กช่วยตนเองในการรับประทานอาหาร เช่น ตักอาหาร และทำอาหารง่าย ๆ


สรุป

กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือ

1) การสังเกต

2) การจำแนกเปรียบเทียบ

3) การวัด

4) การสื่อสาร

5) การทดลอง และ

6) การสรุปและนำไปใช้

สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า การสืบค้น และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย



แหล่งอ้างอิง



กุลยา ตันติผลาชีวะ. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551

http://www.karn.tv/c_science/tip_001.html#



ที่มา :: http://www.gotoknow.org/posts/427486?





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น