วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557


ความลับของแสง

แสง เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้

แหล่งกำเนิดแสง

แหล่งกำเนิดแสง หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ โดยแยกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาวบางดวง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุด

2. แสงจากสัตว์ สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง เช่น หิ่งห้อย แมงดาเรือง

3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้

การเดินทางของแสง

แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกของเรา โดยผ่านสุญญากาศ ผ่านอากาศมายังโลกของเราใช้เวลา 8 นาที ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราถึง 93 ล้านไมล์

ตัวกลางของแสง

ตัวกลางของแสง หมายถึง วัตถุที่ขวางทางเดินของแสง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ตัวกลางโปร่งใส หมายถึง ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด เช่น น้ำใส พลาสติกใส กระจกใส อากาศ แก้วใส

2. ตัวกลางโปร่งแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไปได้ดี แต่ผ่านได้ไม่หมด เช่น น้ำขุ่น กระจกฝ้า หรือหมอกควัน เป็นต้น

3. ตัวกลางทึกแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไม่ได้เลย เช่น สังกะสี กระเบื้อง กระจกเงา เป็นต้น

การหักเหของแสง

แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ

การหักเหของแสงผ่านเลนส์


เลนส์ คือ วัตถุโปร่งใสที่ทำจากแก้วหรือพลาสติก ลักษณะของเลนส์จะมีผิวโค้งบริเวณตรงกลาง และส่วนขอบจะหนาไม่เท่ากัน เลนส์แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. เลนส์นูน มีลักษณะตรงกลางนูนโค้งและมีส่วนขอบบางกว่า แสงเมื่อเดินทางผ่านเลนส์นูนจะเกิดการหักเห รวมแสงที่จุด จุดหนึ่ง ถ้าเราใช้เลนส์นูนส่องดูวัตถุจะทำให้ดูว่าวัตถุใหญ่ขึ้น เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์นูน

2. เลนส์เว้า มีลักษณะขอบโดยรอบหนากว่าส่วนกลางของเลนส์เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการหักเห และกระจายออกจากกัน ดังนั้นเลนส์เว้าจึงมีคุณสมบัติในการกระจายแสงเมื่อเรามองวัตถุผ่านเลนส์เว้าภาพที่เกิดจะมองเห็นวัตถุเล็กลงกว่าเดิม เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์เว้า

บทความ


กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย


วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจ ำวันของคนเรา จะเห็นว่า แม้แต่เด็กปฐมวัยก็ยังได้รับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ประกอบกับเด็กปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็นและมักจะตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ เด็กปฐมวัยควรจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ และ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และ จะได้มีโอกาสพัฒนา และ ประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา (2551) นำเสนอ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ครูและผู้ปกครองควรจะส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ประกอบด้วย


1. ทักษะการสังเกต หมายถึง การสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กทารกจะใช้สายตาสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่โดยรอบ ใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆอย่างสนใจ หรือ อาจจะหยิบสิ่งต่างๆรอบตัวมาบีบ กัด ดมเล่น ซึ่งทุกครั้งที่มีโอกาสกระทำเช่นนั้น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และ นำไปสู่ การพัฒนาความคิดในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
2. ทักษะการจำแนกประเภท เป็นทักษะการแบ่งกลุ่มโดยมีเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

3. ทักษะการทำนาย เป็นทักษะการคาดคะเนคำตอบก่อนจะพิสูจน์ด้วยการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิม ความรู้เดิมมาช่วยทำนาย


4. ทักษะการวัด เป็นการเลือกใช้เครื่องมือ วัดหาปริมาณ น้ำหนัก ความสูง ความยาว ของสิ่งต่างๆ โดยในระดับปฐมวัย อาจจะใช้เครื่องมือวัดที่ไม่เป็นมาตรฐาน เช่น ใช้คืบมือ ใช้คลิปมาต่อกัน เป็นต้น


5. ทักษะการคำนวณ ซึ่งหมายถึงการนับจำนวนของวัตถุ และ นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน

6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
การวัด การทดลอง และ จากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำใหม่ และ นำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย


7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป


8. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย


การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูผู้สอนควรจะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริง เช่น พาเด็กๆไปทัศนศึกษา หาสื่ออุปกรณ์ของจริงที่เด็กได้หยิบ จับ ทดลองกระทำกับวัตถุสิ่งของจริง โดยประสบการณ์ที่จัดให้แก่เด็กนั้นจะต้องมีความหมายต่อเด็ก เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้ เคยพบเห็น และ สามารถนำมาปรับใช้ได้ในอนาคตารประกอบอาหาร เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย โดยทั่วไปแล้ว เด็กเล็กๆในวัยนี้มักจะไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองให้ช่วยทำอาหาร อาจจะเป็นเพราะเกรงในเรื่องความปลอดภัย หากใช้มีดที่มีความคม หรือ หากต้องประกอบอาหารโดยใช้ความร้อน แต่หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง การประกอบอาหารเป็นกิจกรรม และ จัดว่าเป็นสื่อการสอนอย่างดีที่จะช่วยพัฒนาทักษะ ความรู้ และ ความเข้าใจในแนวคิดทั้งทางวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ หากครู และ ผู้ปกครองให้ความช่วยเหลือเด็ก อยู่ใกล้ๆ และ คอยระมัดระวังอันตรายที่อาจจะ

เกิดขึ้นกับเด็กในขณะทำอาหาร เด็กก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมประกอบอาหารอย่างมาก

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 9 กันยายน 2557


ความรู้ที่ได้รับ



การประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการ

ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่มและสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต

ประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจเรียนและสามารถนำสิ่งที่เรียนมาสรุปได้

เพื่อน  เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและตอบคำถามที่อาจารย์ได้ดี

อาจารย์  อาจารย์สอนและให้คำอธิบายได้เป็นอย่างดีค่ะ




วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 2 กันยายน 2557

                สัปดาห์นี้อาจารย์ให้ไปดูงานวิทยาศาสตร์ที่สนามกีฬาในร่มเพื่อให้ไปศึกษาหาความรู้นอก

สถานที่





ความรู้ที่ได้รับ

     สามารถนำเอาความรู้ที่ไปเข้าร่วมกิจกรรมนั้นสามรถนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ในอนาคต


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 26 สิงหาคม 2557

 ความรู้ที่ได้รับ


การประยุกต์ใช้

สามารถนำเอาสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้สอนกับเด็กได้ในอนาคต


การประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอน

เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอนและแต่งกายเรียบร้อย

อาจารย์  อาจารย์สอนได้เข้าใจและมีการใช้คำถามแบบปลายเปิดเพื่อที่จะให้นักเรียนมีการตอบและแสดงความคิดเห็น




วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 19 สิงหาคม 2557

สัปดาห์นี้อาจารย์ได้แจก course syllabus และบอกอธิบายเกี่ยวกับรายวิชานี้และบอกข้อตกลงในการ

เรียนวิชานี้